1. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 ด้านคมนาคม ถนน ภายในตำบลจะพัฒนา และปรับปรุง ให้ประชาชนสามารถ ใช้สัญจรไปมาได้อย่างสะดวก ปลอดภัย โดยจัดลำดับความสำคัญของการแก้ปัญหาไว้ในแผนปฏิบัติการตามความต้องการของประชาชนและภายใต้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลพร้อมกับประสานงาน ขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น
1.2 ด้านไฟฟ้า จะจัดไฟฟ้าสาธารณะให้ครอบคลุม และขยายเขตไฟฟ้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
1.3 ด้านแหล่งน้ำ จัดหาแหล่งน้ำใช้ให้เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชนในการแก้ปัญหา ภัยแล้งและวางแผนบริการน้ำใช้แก่ประชาชนในฤดูแล้งอย่างทั่วถึงโดยประสานกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
1.4 การสื่อสาร จะติดต่อและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดตั้ง โทรศัพท์ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านและชุมชน
2. นโยบายด้านการศึกษา
2.1 จัดหาสถานที่ตั้งของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความมั่นคงแข็งแรง ให้การสนับสนุนการศึกษาระดับก่อนปฐมวัยและปฐมวัย อาหารกลางวัน และอาหารเสริม (นม) วัสดุอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอน พร้อมจัดหาบุคลากรผู้สอนเด็ก ระดับก่อนปฐมวัยให้เพียงพอ
2.2 สนับสนุนการเรียนรู้นอกสถานที่ นอกหลักสูตรทุกรูปแบบ เพื่อเสริมสร้าง ศักยภาพของ นักเรียนและประชาชนทั่วไป
2.3 ส่งเสริมการเรียนรู้ของกลุ่มต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ทางด้านวิชาชีพ ด้านวิชาการ ด้านทักษะของกลุ่มต่าง ๆ
2.4 ส่งเสริมให้มีที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านตามความเหมาะสมของหมู่บ้าน
2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนอุปกรณ์การศึกษา ให้เหมาะสมกับระดับการเรียนการสอน
3. นโยบายด้านการเมืองการปกครอง
3.1 เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยผ่านความเห็นชอบจากประชาคมระดับหมู่บ้านหรือระดับตำบลแล้วแต่กรณี
3.2 ส่งเสริมประชาคมเข้มแข็ง โดยการสนับสนุนในการทำกิจกรรมของประชาคมส่งเสริมการประชุมการแก้ปัญหาในพื้นฐานของประชาคม
3.3 ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะทำงานอย่างบูรณาการทั้งฝ่ายปกครอง ผู้นำชุมชน ผู้นำหมู่บ้าน และผู้นำกลุ่มต่าง ๆ
3.4 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านการเมือง การปกครอง การบริหารงาน แก่สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไปตามโอกาสอันควร
4. นโยบายด้านเศรษฐกิจ
4.1 เน้นให้ประชาชนดำเนินการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
4.2 สนับสนุนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ภายในตำบลที่ใช้งบประมาณ และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม
4.3 จัดศึกษาดูงาน จัดกิจกรรมความรู้แก่กลุ่มอาชีพ เสริมทักษะในการทำงานให้เข้มแข็ง
4.4 ประสานงานกับหน่วยงานอื่นในการเสริมสร้างความรู้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
4.5 จัดโครงการกิจกรรมเพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัวที่ตกเกณฑ์ จปฐ. เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ และแก้ไขปัญหาความ ยากจน
4.6 แก้ไขปัญหาผู้ว่างงาน ผู้มีรายได้น้อยเพื่อขึ้นทะเบียนไว้และส่งให้กับหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดหางานให้ตรงตามความต้องการของผู้ว่างงานต่อไป
5. นโยบายด้านสาธารณสุข
5.1 ร่วมมือกับสาธารณสุขประจำตำบล อสม. แต่ละหมู่บ้าน จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนทุกระดับและส่งเสริมให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน ตามแนวทางนโยบายของ กระทรวงสาธารณสุข
5.2 เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาพร้อมป้องกัน โรคติดต่อต่าง ๆ ตามประกาศของทางราชการ อย่างสม่ำเสมอและรวดเร็ว
5.3 สนับสนุนด้านงบประมาณตามโครงการด้านสาธารณสุข
5.4 สนับสนุนการแก้ปัญหายาเสพติดทุกรูปแบบ
5.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ อสม. หมู่บ้านอย่างทั่วถึง
6. นโยบายด้านการกีฬา ศาสนา และวัฒนธรรม
6.1 จัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาระหว่างหมู่บ้านทุกปี
6.2 ส่งเสริมการออกกำลังกายแก่เด็ก , เยาวชน , ผู้สูงอายุ โดยจัดหาอุปกรณ์กีฬาตามความต้องการแก่ผู้เล่นและสภาพพื้นที่ของหมู่บ้าน
6.3 ร่วมกับประชาชนผู้นำหมู่บ้าน จัดงานประเพณีต่าง ๆ หรือสนับสนุนงบประมาณ ให้ตามความเหมาะสมของฐานะการเงิน การคลัง ขององค์กรปกครองท้องถิ่น 6.4 ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาทุกวัด ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม โดยเน้นให้เยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น
6.5 ส่งเสริมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาและกิจกรรมวันสำคัญทางราชการ อย่างสม่ำเสมอ
7. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
7.1 บำรุงรักษาแหล่งน้ำตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง
7.2 รณรงค์เลือกกำจัดขยะและการบริหารการจัดเก็บ การทิ้ง โดยร่วมกับประชาคม หมู่บ้านและสาธารณสุขประจำตำบล
7.3 สนับสนุนการรักษาความสะอาดถนน ทางเดิน ภายในหมู่บ้าน
7.4 สนับสนุนการปลูกต้นไม้ทุกหมู่บ้านเพื่อเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ให้กับประชาชนทั่วไป
7.5 คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. นโยบายด้านสวัสดิการสังคมสงเคราะห์
8.1 สำรวจจำนวนผู้สูงอายุจัดทำบัญชี เพื่อช่วยเหลือตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป
8.2 สำรวจคนพิการ ผู้ด้อยโอกาสเพื่อจัดหางบประมาณช่วยเหลือต่อไป
8.3 จัดตั้งงบประมาณช่วยเหลือในกรณีเกิดอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย
8.4 ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
9. นโยบายด้านความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน
9.1 ร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันต่อต้านยาเสพติดในชุมชนทำชุมชน เพื่อชุมชนที่เข้มแข็ง
9.2 ร่วมกับข้าราชการฝ่ายปกครอง ตำรวจ ผู้นำชุมชนและอปพร.ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ต่างๆตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด
9.3 จัดให้มีการป้องกันบรรเทาสาธารณะภัยทั้งทางบก ทางน้ำ
10. นโยบายด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น
10.1 ประสานงานกับองค์กรท้องถิ่นอื่น ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นในการร่วมกัน สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาท้องถิ่น ให้มีการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงานให้ความรู้แก่ผู้นำท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชาคม เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง การปกครองท้องถิ่น และแนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
10.2 ส่งเสริมและ สนับสนุนให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีความสามัคคี มีคุณธรรม และจริยธรรม ตลอดจนมีความรู้ในด้านระเบียบกฎหมายต่างๆ
11. ด้านบริหารจัดการ
ปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง พัฒนาทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ในการทำงาน โดยยึดระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาการให้บริการประชาชน รวดเร็ว ซื่อสัตย์ โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามระเบียบบริหารงานบุคคล และในส่วนของผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้บริหารและสมาชิกสภา จะต้องทำงานซื่อสัตย์ โปร่งใส เป็นธรรม ชัดเจน พร้อมรับการตรวจสอบของประชาชนได้ทุกระดับ และจัดให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษแก่พนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างในกรณีที่ได้รับการประเมินผ่านหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัด สุราษฎร์ธานี ส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง รวมถึงผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการนายก และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุกคน
12. เรื่องอื่น ๆ
12.1 จัดกิจกรรมต่าง ๆ และโครงการต่าง ๆ ที่อาจจัดทำขึ้นตามความประสงค์ของประชาชนโดยมุ่งเน้นยึดผลที่ได้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นหลัก
12.2 จัดทำโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล
12.3 จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ๆ
12.4 พัฒนาศักยภาพการทำงานของบุคลากร โดยเน้นการให้การบริการ ความรวดเร็ว ถูกต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ สถานที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ให้ร่มรื่น สะอาด สวยงาม
12.5 จัดให้มีการบริการแก่ประชาชนที่ถูกต้อง “บริหารงานโปร่งใส ประสานใจพัฒนา และประชาชนต้องมีส่วนร่วม “ ในการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายที่กล่าวมานี้ ได้วางอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรมตามสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามกรอบนโยบายที่กำหนด และอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยนโยบายในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม จะดำเนินไปได้จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในตำบล และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ข้าราชการ ลูกจ้างในองค์กร และผู้นำชุมชน จะดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการคือเอาความถูกต้อง ซื่อสัตย์ สุจริต และความสามัคคีเป็นที่ตั้ง
ยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ด้าน 22 แนวทาง
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนา
1.1 พัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ได้มาตรฐานและเชื่อโยง
1.2 พัฒนาด้านสาธารณูปโภค
1.3 พัฒนาการจัดระบบผังเมือง
2. ด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
2.1 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.2 ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาภาคการเกษตร
2.3 ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
2.4 พัฒนาและส่งเสริมอาชีพ การลงทุน การพาณิชยกรรม
3. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
แนวทางการพัฒนา
3.1 ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา
3.2 ส่งเสริมและพัฒนาการศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
3.3 สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้แก่เยาวชนให้มีคุณธรรมจริยธรรม เอื้ออาทรต่อผู้อื่น
3.4 การส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
3.5 ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสังคมสงเคราะห์
3.6 การจัดระเบียบชุมชนและสังคม
4. ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนา
4.1 พัฒนา ปรับปรุง แหล่งท่องเที่ยว
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมด้านท่องเที่ยว
5. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
5.1 ส่งเสริมบำบัดฟื้นฟูและสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2 พัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน
5.3 การส่งเสริม การศึกษา วิจัยเชิงปฏิบัติการด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ด้านบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
แนวทางการพัฒนา
6.1 พัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
6.2 พัฒนาโครงสร้างองค์กรให้ทันสมัย
6.3 พัฒนาบุคคลการให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ
6.4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กร
|